Miraculous things that can be captured.

สิ่งมหัศจรรย์ที่จับต้องได้

The pyramids are one of the wonders of the ancient world, leaving many people wondering how they were built and who created them. Those who have visited are often astonished by these marvels. Naturally, as one of the world’s wonders, the pyramids inspire endless stories and discussions.

If such a miracle had been created easily, it wouldn’t hold the legendary status that has persisted for millennia. Similarly, the story we will now tell binds the mind and conquers the heart, creating a new wonder that inspires and remains deep in memory.

พีระมิด เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าที่ใครหลายคนต่างสงสัยว่ามันเกิดขึ้นมาได้ยังไง ใครเป็นผู้สรรสร้างมันขึ้นมา หลายคนที่เคยไปเยี่ยมเยือนมาแล้วก็อึ้งในความ มหัศจรรย์นั้นเช่นกันและแน่นอนว่าในนามของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนี้เป็นแรงบันดาลใจและสร้างเรื่องราวให้พูดคุยและขบคิดกันอย่างไม่รู้จบ

หากสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายมันก็จะไม่เป็นเรื่องที่วิเศษและสร้างตำนาน เล่าขานได้นานนับหลายสหัสวรรษขนาดนี้เช่นเดียวกับสถานที่ที่จะเล่าถึงจากนี้ กลับผูกจิตพิชิตใจให้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งใหม่ที่ก่อกำเนิดขึ้น สร้างแรงบันดาลใจและอยู่ในห้วงลึกของหัวใจเวลานึกถึงทุกที

Pa Sang Na Ngen Village is a small village of Akha people in Chiang Rai Province, near the Burmese border. The villagers primarily engage in agriculture, such as tea and coffee harvesting, livestock raising, and seasonal selling. The village is surrounded by various types of forests, including bamboo forests. Bamboo is a local material that villagers can use in versatile ways, such as for basketry, utensils, rituals, and even housing. Traditionally, Akha people moved frequently, so they often built temporary structures from bamboo. However, as they began to settle, they transitioned to concrete houses because bamboo does not last long, typically only a few years, and is not durable.

หมู่บ้านป่าซางนาเงิน เป็นหมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านหนึ่งของพี่น้องชาวอาข่า ในจังหวัดเชียงรายที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนพม่า โดยมีอาชีพหลักคือการทำการเกษตร เช่น การเก็บชา กาแฟ เลี้ยงสัตว์ ขายตามฤดูกาลต่างๆ พื้นที่ของหมู่บ้านนี้เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ และไม้ ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านคุ้ยเคยกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ ไผ่ เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีป่าไผ่ล้อมรอบ ไผ่จึงเป็นวัสดุพื้นถิ่นที่ชาวบ้านสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่าง หลากหลายและง่ายต่อการใช้งานทั้งงานจักรสาน ข้าวของเครื่องใช้ การประกอบพิธีกรรมความเชื่อ รวมไปถึงบ้านพักอาศัยโดยมักจะทำเป็นโครงสร้างชั่วคราวเพราะในอดีตนั้นกลุ่มชาวชาติพันธุ์จะมีการ ย้ายถิ่นฐานอยู่บ่อยครั้ง แต่เมื่อเริ่มมีการลงหลักปักฐานแล้วจึงเริ่มทำบ้านพักอาศัยด้วยคอนกรีตกันมากขึ้น เนื่องจากเหตุผลที่ว่าไผ่ใช้งานได้ไม่นาน อยู่ได้แค่ไม่กี่ปีและไม่คงทน

This led to the creation of the Yum Macha Project for the Akha people. The project supported the villagers in returning to bamboo for construction, offering new perspectives on using the material. Our company, Bamboosaurus, joined as a consultant to help develop knowledge, exchange ideas, and ensure the project’s success. This included inspirational workshops, suggestions for extending bamboo’s lifespan, building models, and constructing a prototype building, leading to the “Ping Phai Building.”

The Ping Phai Building, described by villagers as “a wonder like the pyramids,” is a bamboo structure with a unique appearance. Inspired by Akha hats, it is entirely made from bamboo and was built from scratch.

จึงเกิดเป็นโครงการ ยุ๊มมาฉ่า เพื่อพี่น้องชาวอาข่าขึ้น โดยทางโครงการได้สนับสนุนให้พี่ๆชาวบ้านกลับมาใช้วัสดุไผ่ในการก่อสร้างและเปิดมุมมองใหม่ๆในการใช้วัสดุให้กับพี่ๆชาวบ้านซึ่งทาง บริษัท แบมบูซอรัส ของเราได้เข้ามาร่วมในโครงการนี้ในฐานะของที่ปรึกษา เพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และดำเนินโครงการในลุล่วง ตั้งแต่ขั้นตอน การทำเวิร์คชอปสร้างแรงบันดาลใจ การแนะแนวทางการยืดอายุการใช้งานไผ่ให้มีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น การทำโมเดลจำลองอาคารและลงมือสร้างอาคารต้นแบบจนเกิดเป็น “อาคารพิงไผ่” 

อาคารพิงไผ่ ที่พี่ๆ ชาวบ้านนั้นเปรียบเปรยไว้ว่า “เห็นอาคารนี้แล้วนึกถึงพีระมิดเหมือนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเลย”  เพราะอาคารพิงไผ่นี้เป็นอาคารโครงสร้างไผ่ ที่มีรูปลักษณ์แปลกตาและเป็นสิ่งที่ชาวบ้านไม่เคยเห็น โดยการออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากหมวกขอชาวอาข่าสร้างจากไผ่ทั้งหมดและเริ่มต้นจากศูนย์  

The Ping Phai Building is located on empty land in front of Pa Sang Na Ngen School, where students usually wait for their bus after class. This sparked the creation of the building. Initially, it was designed as a pavilion for students, but its prominent location at the village entrance and in front of the school, along with the beautiful view, led the villagers to suggest adjusting the building to serve as both a pavilion and a viewing point. It became a two-story building, 7 meters high, located on a steep mountain edge with strong winds, requiring careful structural consideration.

The main structure features large poles made by bundling 9 strands of 5-inch bamboo for strength. The bamboo used is wild, often crooked and thin. Only the relatively large, straight bamboo can be used as poles. The challenge was designing and proportioning the materials to suit the building. For the surface covering both the floor and roof, we chose split bamboo, commonly used in the village and sold as well, making it an easy material for the villagers to work with. We also learned from the villagers that one knife can do everything: sharpen bamboo for temporary structures or cut it into corners.

โดยอาคารพิงไผ่ตั้งอยู่บนที่ดินเปล่าบริเวณหน้าโรงเรียนป่าซางนาเงิน ซึ่งเป็นที่ที่นักเรียนมักจะมายืน รอรถเวลาเลิกเรียน เป็นสิ่งจุดประกายให้เกิดอาคารนี้ขึ้นโดยแรกเริ่มแล้วอาคารนี้ถูกออกแบบให้เป็นเพียงศาลารอรถของนักเรียน แต่ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่หน้าหมู่บ้านและหน้า โรงเรียนจึงมีความโดดเด่น อีกทั้งมีมุมมองที่สวยงาม ทางพี่ๆชาวบ้านจึงเสนอให้ปรับรูปแบบอาคารให้เป็นได้ทั้งศาลารอรถและจุดชมวิวไปในตัว จึงกลายเป็นอาคารสองชั้น สูง 7 เมตร ตั้งอยู่ริมเขาที่มีความชันและเป็นจุดที่มีลมแรงเราจึงต้องคำนึงถึงจุดนี้เป็นอย่างมาก  

ในส่วนของโครงสร้างหลักของอาคารเสาจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยการใช้ไผ่ 5 นิ้ว รัดรวบถึง 9 ลำ เพื่อความแข็งแรงและอีกเหตุผลหนึ่งคือไผ่ที่เราใช้เป็นไผ่ป่า ที่มีลำค่อนข้างคด และเนื้อบาง ลำที่ตรงพอที่จะเอามาใช้ทำเสาได้ก็จะต้องเป็นไผ่ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ความท้าทายของการใช้วัสดุในพื้นที่คือการที่เราจะต้องออกแบบและแบ่งสัดส่วนของวัสดุให้เหมาะสมกับตัวอาคารด้วย ถัดจากส่วนของงานโครงสร้าง ก็จะเป็นส่วนของวัสดุปิดผิวทั้งพื้นและหลังคา ซึ่งเราเลือกใช้เป็นไผ่สับฟากโดยไผ่สับฟากนั้นมีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้วใน หมู่บ้านและยังมีการทำไผ่สับฟากขายอีกด้วย จึงเป็นเรื่องง่ายที่พี่ๆชาวบ้านสามารถทำกันได้อยู่แล้วและอีกสิ่งหนึ่งที่เราได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับพี่ๆชาวบ้านก็คือมีดหนึ่งเล่มสามารถทำได้ทุกอย่าง มีดสามารถเหลาตอกเพื่อนำมามัดโครงสร้างชั่วคราวหรือบากไผ่ให้เข้ามุมอย่างง่ายดาย      

Our team provided recommendations on basic building design principles, sun and rain protection techniques, bamboo bending, notching, joint making, and roof laying. We also suggested using Japanese grass for the second-floor roof, a new concept for the villagers. Once the building structure and surface covering were complete, the villagers took on the decoration, incorporating patterns from Akha shirts into the railing design, enhancing the building’s cultural connection and pride.

The Ping Phai Building, inspired by Akha hats, was created through four months of collaborative effort, starting with doubts about its feasibility. These challenges were overcome when the building was completed, inspiring the villagers to improve their own bamboo houses and develop construction skills for additional income. This project also laid the foundation for community development and potential as a tourist attraction.

ส่วนสิ่งที่ทางทีมเราเข้าไปช่วยแนะนำก็จะเป็นเรื่องหลักการออกแบบโครงสร้างอาคารพื้นฐาน เทคนิคการบังแดดบังฝน การดัดโค้งไผ่ การบากไผ่ การทำข้อต่อและวิธีการปูหลังคา สับฟาก อีกทั้งยังมีการเสนอการใช้วัสดุธรรมชาติอีกชนิดเข้ามาร่วมด้วยนั่นก็คือหญ้าญี่ปุ่น ในการทำหลังคาชั้น 2 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งใหม่มากสำหรับการทำอาคาร เมื่อโครงสร้างอาคาร และวัสดุปิดผิวเสร็จสมบูรณ์แล้วส่วนของการตกแต่งก็เป็นหน้าที่ของทางพี่ๆชาวบ้านในการออกแบบ โดยรูปแบบของราวกันตกนั้นถอดมาจากรูปแบบของลายเสื้อชาวอาข่าที่เป็น เส้นทแยงมุมขึ้นลงจึงทำให้อาคารนี้เป็นอาคารที่คนในหมู่บ้านมีความรู้สึกเชื่อมโยงและ ภูมิใจมากยิ่งขึ้น 

 

อาคารพิงไผ่ เป็นอาคารที่มีแนวคิดมาจากหมวกของชาวอาข่าที่เกิดขึ้นจากการลงมือ ลงแรง ร่วมกันสร้างกว่า 4 เดือน โดยเริ่มจากสองมือที่คิดว่าจะทำได้หรือไม่ ทำแล้วจะต่างอะไร จากของเดิม ความท้าทายและคำถามเหล่านี้ได้ถูกทำให้กระจ่างเมื่ออาคารพิงไผ่ได้สร้างเสร็จ และยังเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับพี่ๆชาวบ้าน ได้นำไปต่อยอดทั้งเรื่องการปรับปรุงและ กลับมาสร้างบ้านของตัวเองด้วยไผ่อีกครั้ง รวมไปถึงพัฒนาฝีมืองานก่อสร้างเพื่อรับงานก่อสร้าง อาคารไผ่ ให้เป็นรายได้เสริมทั้งของตนเองและชุมชน อีกทั้งเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาชุมชน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตามความคาดหวังที่อยากเห็นหมู่บ้านของตนพัฒนาขึ้นอีกด้วย 

From the beginning of this development journey, we and the villagers learned many things: knowledge, wisdom, potential development, and inspiration, all centered around the Ping Phai Building. It is a miracle in the hearts of the villagers and us alike.

จากจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเราและชาวบ้านได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายทั้งองค์ความรู้ ภูมิปัญญา       การพัฒนาศักยภาพ แรงบันดาลใจทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นโดยมีอาคารพิงไผ่เป็นจุดศูนย์กลางเปรียบเสมือนอาคารพิงไผ่ที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ในใจของชาวบ้านรวมถึงพวกเราอีกด้วย